“จากขายไม่ออก เป็นผลิตไม่ทัน ด้วย Data-Driven Strategy”
Share on facebook
Share
Share on twitter
Twitter
ขายไม่ออก
“จากขายไม่ออก เป็นผลิตไม่ทัน ด้วย 𝘿𝙖𝙩𝙖-𝘿𝙧𝙞𝙫𝙚𝙣 𝙎𝙩𝙧𝙖𝙩𝙚𝙜𝙮”
.
หลายคนอาจจะเคยได้ยินบ่อยกับคำว่า Data Driven ซึ่งถ้าหากแปลตรงตัวแล้ว Data Driven ก็คือ การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data – ข้อมูล, Driven – ขับเคลื่อน)
แต่จะมีใครรู้ลึก รู้จริง ว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร และเราสามารถนำ Data Driven ไปใช้กับสถานการณ์ไหนได้บ้าง? วันนี้ Kidyers จะมาเล่าให้ฟัง
.
ในเชิงมาร์เก็ตติ้ง Data Driven คือ วิธีทางการตลาดที่นำ Data มาประยุกต์ใช้งานในทุก ๆ กระบวนการทำงาน โดยจะไม่นำความคิดเห็นส่วนตัว หรือประสบการณ์ของบุคลากรมาใช้ตัดสินใจ จะมีเพียงแค่ Data เท่านั้น ที่นำมาใช้วิเคราะห์ วางแผน และทำงาน
ซึ่งการนำ Data มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพนั้น เราต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่า เราต้องการอะไร?
แล้วค่อยใช้ Data ผสมกับ Creative ในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา
ยกตัวอย่างร้านไอศกรีมชาเขียวเจ้าหนึ่ง
เขานำไอศกรีมออกมาขายทั้งหมด 100 ถ้วย แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือ มียอดขายไม่ถึง 10 ถ้วยด้วยซ้ำ
.
สิ่งที่ “เขาคิด” ว่าที่ขายไม่ดีน่าจะเป็นเพราะคนยังไม่ค่อยรู้จักแบรนด์ เขาจึงลงทุนทำโฆษณา หรือแจกใบปลิวต่าง ๆ เพื่อให้คนรู้จัก
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ยอดขายเพิ่มขึ้นในช่วงแรกเท่านั้น แต่สุดท้ายก็ลดลงเหมือนเดิม
.
สิ่งที่ “เขาคิด” ต่อมาคือ ลูกค้าอาจจะไม่มั่นใจในรสชาติ จึงมีการแจกให้ชิมก่อนซื้อ
แต่สุดท้ายยอดขายก็ไม่ต่างจากเดิม
.
สิ่งที่ “เขาคิด” ต่อมาอีกคือ ต้องมีโปรโมชั่นดี ๆ เพื่อจูงใจลูกค้า ซึ่งยอดขายเพิ่มขึ้นจากโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 แต่เมื่อหมดโปรฯ ทุกอย่างก็กลับไปเป็นเหมือนเดิม
.
โดยปัญหาที่ทำให้ยอดขายไม่เพิ่มขึ้นก็คือ การที่ไม่ได้นำ Data มาใช้ แต่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งการที่ “เขาคิด” หรือนำความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพียงแต่เขาอาจจะคิดว่าลูกค้า “อาจจะชอบ” เหมือนที่เราชอบ หรือลูกค้า “อาจจะอยากได้” เหมือนที่เราอยากได้ โดยที่ไม่เคยได้ถามลูกค้าว่า เขาชอบเหมือนเราไหม?
.
เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มเปลี่ยนการทำงานจาก “เราคิด” และเริ่มใช้ Data ในการ Drive ความคิด ซึ่งถ้าลองเปลี่ยนแนวคิดแล้ว จากที่ผ่านมาจะพบว่า แท้จริงแล้วปัญหาคือ “ระดับความเข้มข้นของชาเขียว” จากข้อมูลการซื้อขายทุก ๆ ครั้ง ลูกค้ามักจะพูดคุย และแนะนำให้ลองทำรสชาติที่เข้มข้นขึ้น หรือเจือจางลงบ้าง
.
รสชาติที่เขาคิดเองว่าจะขายได้ แต่ไม่เคยถาม หรือสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าเขาชอบแบบไหน ซึ่งเขาจะสามารถค้นพบได้จากข้อมูล
pain point
[ค้นพบ Pain Point ของลูกค้าจาก Data]
เมื่อเราดู Data และได้รู้ปัญหาจริง ๆ ว่าคือ ระดับความเข้มข้นของชาเขียว
ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องเอา Data มาวิเคราะห์และ Creative เพื่อมาแก้ไขปัญหา
หา solution
[ใช้ Data คิดหา Solution]
โจทย์ของร้านไอศกรีมชาเขียวคือ ต้องการเพิ่มยอดขาย โดยปัญหาคือ เรื่องความเข้นข้นของชาเขียว
เขาจึงเปลี่ยนวิธีการนำเสนอ โดยทำไอศกรีมชาเขียวจำนวน 100 ถ้วย “เท่าเดิม” แต่ที่แตกต่างไปคือ เพิ่มระดับความเข้มข้นตั้งแต่ หวานไปจนถึงขมทั้งหมด 10 ระดับ
เพิ่มโอกาสทางการขาย
[วาง Strategy เพื่อให้ได้ Data มาต่อยอด เพิ่มโอกาสทางการขาย]
ผลที่ได้คือ ไอศกรีมขายออกทั้งหมด โดยที่ไม่ต้องคิดโปรโมชั่นอะไรเพิ่มเติม และยังได้ Data มาอีกจำนวนมาก เช่น คนชอบความเข้มข้นของชาเขียวระดับไหนมากที่สุด, คนอายุเท่าไรชอบความเข้มข้นของชาเขียวระดับไหน หรือแม้กระทั่งคนที่ชอบความเข้มข้นระดับเท่าไรที่จะซื้อน้ำชาควบคู่ไปด้วย
.
แค่เราเปลี่ยนวิธีการนำเสนอง่าย ๆ ก็สามารถเพิ่มระดับให้ลูกค้ามีทางเลือกในการเลือกตามที่ตัวเองชอบ และเรายังได้ Data ที่มากมายมหาศาล โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติม และยังสามารถนำ Data มาต่อยอดเป็นเมนูพิเศษ ออกเมนูใหม่ ๆ หรือทำโปรโมชั่นเพื่อเพิ่มยอดขายได้อีกมากมาย
.
ทุก ๆ ขั้นตอนเหล่านี้ คือการใช้ Data Driven ในการทำงาน
สรุป
การนำ Data มาช่วยในการทำงานมีข้อดีอย่างไร
-เราสามารถรู้อินไซด์ของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมแบบไหน ชอบอะไร
-ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพราะธุรกิจถูกขับเคลื่อนด้วยลูกค้า ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าจะมาในรูปแบบไหน
-ขายง่ายขึ้น หรือภาษาการตลาดก็คือ การวางกลยุทธ์การตลาด สร้างแคมเปญ ให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุด
.
ส่วนข้อเสีย
-ข้อมูลนั้นไม่ได้มาง่าย ๆ
บทความหน้าจะมีเรื่อง Data กับธุรกิจที่น่าสนใจอีกมากมาย
ติดตามบทความดี ๆ จาก Kidyers ได้ที่
หรือสามารถติดต่อได้ที่
Email – hello@kidyers.com
Data Driven Creative
Agency
Services
Contact us
Hello@Kidyers
02 261 4089
689 Bhiraj Tower 18 Floor Room No, 1806
Sukhumvit Rd, Khlong Tan Nuea, Watthana,
Bangkok 10110
Ⓒ 2022 Kidyers All right Reserved.